การสอบปลายภาค
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย
คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ
ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม
หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ คือ จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ
และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ
เห็นด้วย เพราะว่าเป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้
ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้
ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้และจะได้ลดการแย่งงาน
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรและการลงทุนในด้านงบประมาณ
การเงินและทรัพย์สิน ทั้งจากของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ชุมชน บุคคล ฯลฯ
และให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตลอดจนจัดให้มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้โอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชน
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันมี 3 รูปแบบคือ
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอนการศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอนการศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
· การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
1. การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
· การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า"อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
ตอบ แตกต่างกัน การศึกษาภาคบังคับ คือการศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือ ป.1-ม.3
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไปบุคคล รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กล่าวว่าบุคคลย่อมมีสิทธเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมีขอบเขตขยายถึงการศึกษาระดับ ม.ปลายซึ่งใช้เวลาเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา 12 ปี หรือ ป.1 ถึง ม.6
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1 สำนักงานรัฐมนตรี
2 สำนักงานปลัดกระทรวง
3 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1 สำนักงานรัฐมนตรี
2 สำนักงานปลัดกระทรวง
3 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ (1) สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษา
(2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ
สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง
รวมทั้งบริหารจัดการองค์การค้าของคุรุสภา
ทำให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะที่จะเป็นพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พ.รบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ผิด เพราะว่า แม้ว่าจะข้อห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีหาก ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าไม่ผิด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ โทษทางวินัยคือโทษที่ควรได้รับจากการทำผิดวินัย มี 5 สถาน คือ
1
ภาคทันฑ์
เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึงยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน นอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนกันได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น
ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา2 เดือนแล้วกจะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
4.
ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก
เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ “เด็ก” หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่
บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่
เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง
ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ
ศีลธรรมอันดี
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” หมายความว่า
การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศ
ต่อเด็ก
การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น