วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรมที่ 2


1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ

             มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
             การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความ แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมความ เชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
มาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง


  ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
              มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
 ส่วนที่ 9  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิภาพ
              มาตรา 52  เด็กและเยาวชน  มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา  ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
  ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา  สังคม  การสาธารณสุข  การศึกษา  และวัฒนธรรม
              มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม  การสาธารณสุข  การศึกษา และวัฒนธรรม
             (3) พัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังค  จัดให้มีการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ  จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก  รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย  คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้างโดยกตัวอย่าง

         -  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
         -  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
         - เด็กและเยาวชน  มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา  ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
         - มาตรา  174  รัฐมนตรีต้องมมีคุณสมบัติและไม่มีไม่มีลักษณะต้องห้าม 4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอก
เหตุผลประกอบการอภิปราย
            เพราะเราจะได้รู้และเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชน  และขอบเขตการใช้อำนาจทางการเมืองการปกครองและข้อจำกัดต่างๆของอำนาจอันสำคัญนี้ด้วย       

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

        
 ดิฉันเห็นด้วยถ้าหากไปแก้ในส่วนที่บกพร่อง  แก้ในที่ยังไม่ชัดเจนแก้แล้วเกิดประโยชน์แก่ประชาชน     ไม่ไช่แก้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง แล้วพอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็แก่ใหม่

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 

           
 ไม่สมดุลลกัน   เนื่องจากทั้ง 3 อำนาจมีการคอรับชั่นและทุจริต  ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้ยากมากเนื่องจากการคอรับชั่นเป็นเสมือนหนึ่งในกฎของการเลือกตั้ง  และการทุจริตก็เหมือนกันจะมีเกือบทุกรัฐบาล  ดังนั้นประเทศไทยก็จะวนอยู่แบบนี้  เลือกตั้ง  คอรับชั่น  รัฐบาลใหม่ ทุจริต และ เลือกตั้ง  คอรับชั่น  รัฐบาลใหม่ ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน   สิ่งเดยีวที่จะสามารถต้านทานได้  คือ  ความรักความสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน
             

   

            

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



กฎหมาย  คือ  คำสั่งหรือข้อบังคับของผู้ปกครองรัฐหรือผู้ปกครองประเทศที่บัญญัติออกมาใช้ัควบคุมความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศของตน  ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกันหหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและถูกลงโทษ

กฎหมายเอกชน  คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน

กฎหมายมหาชน   คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือราษฎร

 กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศต่อประเทศ  แต่กฎหมายระหว่างประเทศนี้ไม่มีสภาพบังคับที่แท้จริง  แม้จะมีศาลโลกอยู่ก็ต่าม  ในทางปฏิบัติระหว่างรัฐต่อรัฐ  โดยปกติก็อาศัยจารีตประเภณี  และหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า

ความผิดหลายกระทง
การทำความผิดหลายกรรมต่างกันหรือที่เรียกว่า "ต่างกรรมต่างวาระ" การกระทำแต่ละกรรมนั้นเป็นอิสระจากกัน เช่น วันนี้ยักยอกเงินนายจ้าง 100 บาท รุ่งขึ้นยักยอกอีก 500 บาท การยักยอกแต่ละวันไม่เกี่ยวกัน เป็นความผิดสองกระทงต้องรับผิดชอบเป็นรายกระทงไป

พยานแวดล้อมกรณี
พยานที่แสดงข้อเท็จจริงอันอาจทำให้ศาลพึงสันนิฐานข้อเท็จจริงในประเด็นได้ แต่พยานเช่นนี้มิใช่ประจักษ์ที่รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง บางคดีอาจหาพยานโดยตรงไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยพยานแวดล้อมกรณีเป็นส่วนประกอบในการช่วยพิสูจน์ข้อเท็จจริง เช่น พยานเบิกความว่า ได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วยจากในบ้าน ทันใดนั้นก็เห็นหลังคนวิ่งออกมาจากบ้านแต่งตัวนุ่งกางเกงยีน ใส่เสื้อคอกลมสีขาว แต่ไม่เห็นหน้าว่าเป็นใคร เมื่อฟังประกอบกับคำให้การของผู้เสียหายว่าคนร้ายคือนาย ก. เป็นผู้ทำร้ายตนโดยนาย ก. นุ่งกางเกงยีนใส่เสื้อยืดสีขาว ศาลก็ลงโทษนาย ก.ได้

พยานบอกเล่า
พยานที่ทราบข้อเท็จจริงจากการบอกเล่าของผู้อื่น มิได้รู้เห็นหรือทราบข้อเท็จจริงโดยตรง เมื่อมาเบิกความเป็นพยาน ศาลจะไม่ค่อยรับฟังหรือให้น้ำหนักความเชื่อถือแต่อย่างใด

ทรัพยสิทธิ
สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินโดยตรง ทรัพยสิทธิจะก่อตั้งขึ้นได้โดยอาศัย อำนาจของกฎหมาย (จะมาทำสัญญาตั้งทรัพยสิทธิกันเองไม่ได้) เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย ภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจำนอง สิทธิยึดหน่วง ฯลฯ

บุคคลสิทธิ
สิทธิที่มีวัตถุแห่สิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ที่เรียกกันว่าสิทธิเรียกร้อง กล่าวได้ว่าบุคคลสิทธิ คือสิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคล เป็นสิทธิที่บังคับเอากับตัวบุคคลให้กระทำหรือให้งดเว้นการกระทำ จะไปบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินไม่ได้ เช่น สัญญาเงินกู้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาทรัพย์สินของลูกหนี้เลยไม่ได้ เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องร้องต่อศาลตามกระบวนการของศาลต่อไป

มูลคดี
ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง เช่น มีคนบุกรุกเข้าไปอยู่ในที่ดินของเรา ซึ่งปกติที่ดินที่เป็นของเรา คนอื่นย่อมไม่มีสิทธิเข้ามายุ่งเกี่ยว การที่มีคนเข้ามาอยู่โดยไม่มีสิทธิ นั่นย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของเราแล้ว เป็นเหตุให้เราเกิดอำนาจฟ้องให้เขาย้ายออกไป


นายสกล  สัมพันธ์กลอน.( 2545 ).ความรู้เบื้อนต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพฯ : หจก.มณฑลการพิมพ์
http://blog.eduzones.com/cazii/83062 ( 7-11-55)

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง


นางสาวยีซ์มานี  ยูโซ๊ะ
รหัสนักศึกษา   5311103083
คณะครุศาสตร์
สาขาวิชาคณิตศาสตร์


ประวัติการศึษา
-  ประถม         โรงเรียนบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ
-  มัธยมต้น     โรงเรียนอิสลามวิทยาทาน   
-  มัธยมปลาย        โรงเรียนดารุสสาลาม

ปรัชญา
น้อยใจเสียเวลา  น้อยวิชาเสียอนาคต