วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



กฎหมาย  คือ  คำสั่งหรือข้อบังคับของผู้ปกครองรัฐหรือผู้ปกครองประเทศที่บัญญัติออกมาใช้ัควบคุมความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศของตน  ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกันหหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและถูกลงโทษ

กฎหมายเอกชน  คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน

กฎหมายมหาชน   คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือราษฎร

 กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ    กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศต่อประเทศ  แต่กฎหมายระหว่างประเทศนี้ไม่มีสภาพบังคับที่แท้จริง  แม้จะมีศาลโลกอยู่ก็ต่าม  ในทางปฏิบัติระหว่างรัฐต่อรัฐ  โดยปกติก็อาศัยจารีตประเภณี  และหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า

ความผิดหลายกระทง
การทำความผิดหลายกรรมต่างกันหรือที่เรียกว่า "ต่างกรรมต่างวาระ" การกระทำแต่ละกรรมนั้นเป็นอิสระจากกัน เช่น วันนี้ยักยอกเงินนายจ้าง 100 บาท รุ่งขึ้นยักยอกอีก 500 บาท การยักยอกแต่ละวันไม่เกี่ยวกัน เป็นความผิดสองกระทงต้องรับผิดชอบเป็นรายกระทงไป

พยานแวดล้อมกรณี
พยานที่แสดงข้อเท็จจริงอันอาจทำให้ศาลพึงสันนิฐานข้อเท็จจริงในประเด็นได้ แต่พยานเช่นนี้มิใช่ประจักษ์ที่รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง บางคดีอาจหาพยานโดยตรงไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยพยานแวดล้อมกรณีเป็นส่วนประกอบในการช่วยพิสูจน์ข้อเท็จจริง เช่น พยานเบิกความว่า ได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วยจากในบ้าน ทันใดนั้นก็เห็นหลังคนวิ่งออกมาจากบ้านแต่งตัวนุ่งกางเกงยีน ใส่เสื้อคอกลมสีขาว แต่ไม่เห็นหน้าว่าเป็นใคร เมื่อฟังประกอบกับคำให้การของผู้เสียหายว่าคนร้ายคือนาย ก. เป็นผู้ทำร้ายตนโดยนาย ก. นุ่งกางเกงยีนใส่เสื้อยืดสีขาว ศาลก็ลงโทษนาย ก.ได้

พยานบอกเล่า
พยานที่ทราบข้อเท็จจริงจากการบอกเล่าของผู้อื่น มิได้รู้เห็นหรือทราบข้อเท็จจริงโดยตรง เมื่อมาเบิกความเป็นพยาน ศาลจะไม่ค่อยรับฟังหรือให้น้ำหนักความเชื่อถือแต่อย่างใด

ทรัพยสิทธิ
สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินโดยตรง ทรัพยสิทธิจะก่อตั้งขึ้นได้โดยอาศัย อำนาจของกฎหมาย (จะมาทำสัญญาตั้งทรัพยสิทธิกันเองไม่ได้) เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย ภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจำนอง สิทธิยึดหน่วง ฯลฯ

บุคคลสิทธิ
สิทธิที่มีวัตถุแห่สิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ที่เรียกกันว่าสิทธิเรียกร้อง กล่าวได้ว่าบุคคลสิทธิ คือสิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคล เป็นสิทธิที่บังคับเอากับตัวบุคคลให้กระทำหรือให้งดเว้นการกระทำ จะไปบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินไม่ได้ เช่น สัญญาเงินกู้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาทรัพย์สินของลูกหนี้เลยไม่ได้ เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องร้องต่อศาลตามกระบวนการของศาลต่อไป

มูลคดี
ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ อันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง เช่น มีคนบุกรุกเข้าไปอยู่ในที่ดินของเรา ซึ่งปกติที่ดินที่เป็นของเรา คนอื่นย่อมไม่มีสิทธิเข้ามายุ่งเกี่ยว การที่มีคนเข้ามาอยู่โดยไม่มีสิทธิ นั่นย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของเราแล้ว เป็นเหตุให้เราเกิดอำนาจฟ้องให้เขาย้ายออกไป


นายสกล  สัมพันธ์กลอน.( 2545 ).ความรู้เบื้อนต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพฯ : หจก.มณฑลการพิมพ์
http://blog.eduzones.com/cazii/83062 ( 7-11-55)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น